วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.ปัจจุบันอาเซียนประกอบไปด้วยประเทศใดบ้าง
ที่มา  www.thai-aec.com
         www.เกร็ดความรู้.net
         http://hilight.kapook.com/view/67028


ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ


Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม 


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ



3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้ 


4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้อง


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม 


6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก 


7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส 


8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ 


9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว 


10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย
รายละเอียดของอาเซียน+3
กลุ่มอาเซียน+3 (ASEAN+3, ASEAN Plus 3, อาเซียนบวกสาม) จะประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศบรูไน รวมกับประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ โดยทั้ง 13 ประเทศจะมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรของทั้งโลก และจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 16 ของ GDP รวมทั้งโลก) ในขณะที่ยอดทรัพย์สินที่เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (สูงกว่า 50% ของเงินทุนสำรองของโลก)
เป้าหมายของการจัดตั้งอาเซียน+3
การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน+3 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3. ด้านพลังงาน
4. สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
เป้าหมายความร่วมมือกันของอาเซียน+3 หรือประชาคมเอเชียตะวันออก
การรวมกันเป็นกลุ่มอาเซียน+3 จะเป็นการนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งชาติสมาชิกทั้งหมดจะร่วมมือและสนับสนุนกันในด้านต่างๆ โดยมีความร่วมมือ 6 ด้านที่จะต้องเร่งผลักดัน ดังนี้
1. การร่วมกันกำหนดกฎระเบียบในภูมิภาค
2. การตั้งเขตการค้าเสรี
3. ข้อตกลงความร่วมมือทางการเงินและการคลัง
4. เขตความร่วมมือและมิตรภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมอาวุธ
5. การคมนาคมและเครือข่ายการสื่อสาร
6. ด้านสิทธิมนุษยชนและพันธะกรณีต่างๆ
ข้อริเริ่มเชียงใหม่ของกลุ่มอาเซียน+3
ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) เมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน เช่น ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ซึ่งเป็นแนวความคิดด้านการเงินของภูมิภาค โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนการเงินขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจที่อาจจะอ่อนแอในอนาคต
ที่ประชุมได้มีข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะนำข้อริเริ่มเชียงใหม่มาขยายผลในทางปฏิบัติ โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จากเป้าหมายเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท โดย 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน ญี่ปุ่นเและกาหลีใต้ จะลงขันในสัดส่วน 80% ของวงเงินดังกล่าว และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีก 10 ประเทศ จะลงขันในส่วนที่เหลืออีก 20% ซึ่งกองทุนนี้จะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพียงแต่จะให้ความช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้กับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือทุกประเทศเหมือนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
อาเซียน+3 นั้น เป็นความร่วมมือที่จะสามารถสร้างประโยชน์และความมั่นคงในภาพรวมให้กับสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ อีกทั้งยังสามารถสร้างอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศได้อย่างมหาศาล

เกร็ดความรู้อาเซียน


ประเทศอาเซียน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอมขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ            ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)           แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน 
          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
  รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 
บรูไน
1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)           ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 

ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

2.สัญญาลักษณ์ของอาเซียนหมายถึงอะไร
 ที่มา:  https://neneantana.wordpress.com
           www.เกร็ดความรู้.net
           Ic.rmutr.ac.th

สัญลักษณ์อาเซียน ได้รับการออกแบบให้เป็นรูปรวงข้าวสีเหลืองทองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมกันอยู่เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน โดยพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาวและน้ำเงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน วางอยู่ใต้รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งมวล ส่วนสีน้ำเงินในสัญลักษณ์อาเซียน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สัญลักษณ์อาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
สีในสัญลักษณ์อาเซียนมีความหมายดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
  • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
  • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง
"บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
  • พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
  • สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน
ความหมายของธงอาเซียน

ความหมายของธงอาเซียน เมียรม่าร์ (พม่า)
มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย
  • สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
  • สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
  • ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
  • พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
  • พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
ความหมายของธงอาเซียน

ความหมายของธงอาเซียน เวียตนาม

ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ความหมายของธงอาเซียน

ความหมายของธงอาเซียน สิงคโปร์
เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่
  • สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
  • รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค
หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง" ("Jalur Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"
  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
  • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
  • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ
  • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
  • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
  • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
  • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ
  • ชาติ (สีแดง)
  • ศาสนา (สีขาว)
  • พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
ASEAN Flag and Logo ธงและตราสัญลักษณ์อาเซียน
                                   According to the ASEAN Charter, Article 37:
  
The ASEAN Flag represents a stable, peaceful, united and dynamic ASEAN.

ธงอาเซียนคือสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และความก้าวหน้าของอาเซียน
The colours of the flag - blue, red, white and yellow represent the main colours of the flags of all the ASEAN Member States.

ที่มาของสี 4สีที่ปรากฏอยู่บนธงคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีขาวและสีเหลือง แทนสีบนธงชาติของรัฐสมาชิกของอาเซียน 

The blue represents peace and stability. Red depicts courage and dynamism. White shows purity and yellow symbolises prosperity.

สีน้ำเงิน หมายถึงสันติภาพและเสถียรภาพ สีแดงคือความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาวคือความบริสุทธ์ และสีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
The stalks of padi represent the dream of ASEAN Founding Fathers for an ASEAN comprising all the countries of Southeast Asia bound together in friendship and solidarity. 

สิ่งที่ ปรากฏอยู่กลางธงของอาเซียนคือ รวงข้าวสีเหลืองทั้ง 10 มัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว สมดังเจตนารมย์ของการก่อตั้ง

3.เสาหลักของประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง

ที่มา:www.เกร็ดความรู้.net/3เสาหลักอาเซียน
       
       www.trang.psu.ac.th/asean/?p=75
   
       https://kullanit.wordpress.com/3-เสาหลักอาเซียน/

3 เสาหลักอาเซียน หมายถึง ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นภาพรวมของการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยตามข้อตกลงบาหลี 2 เมื่อปี พ.ศ.2546 ได้มีข้อตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น โดยแบ่งแยกออกเป็น 3 ประชาคมย่อย โดยทั้ง 3 ประชาคมย่อยนั้น เราเรียกว่า 3 เสาหลักอาเซียนนั่นเอง ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2563 แต่ต่อมามีการกำหนดให้แล้วเสร็จให้เร็วขึ้นจากเดิมอีก 5 ปี คือต้องแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2558
3 เสาหลักอาเซียน
3 เสาหลักอาเซียน
3 เสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY หรือ ASCC)
รายละเอียดของ 3 เสาหลักอาเซียน
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการคือ
- การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
- ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
- การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ได้แก่
- การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
- การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
- การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ
- การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา
3 เสาหลักอาเซียนนั้นมีเป้าหมายที่จะเริ่มต้นกันอย่างจริงจังและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป แต่คนไทยเรามักจะจำแค่ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากมีการตื่นตัวกันทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ในความจริงแล้ว ต้นปี 2558 คือจุดเริ่มต้นของเสาหลักอาเซียนทั้ง 3 เสาหลักพร้อมๆกัน
images (3)
1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่
1.1 สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในเรื่องของการเคารพความหลากหลายของแนวคิด และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและกิจกรรมภายใต้เสาการเมืองและความมั่นคง
1.2 ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
1.3 ให้อาเซียนมีปฎิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยอาเซียนมีบทบาทเป็นผู้นำในภูมิภาค และจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด ปัญหาโจรสลัด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการ รวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบ ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ภายในปี 2558 มีประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย
2.1 มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน
2.2 มุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี
2.3 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้ประเทศสมาชิกเหล่านี้ เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
2.4 ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมี แผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)
3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

3 เสาหลักอาเซียน

pp5
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1. สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ ด้วยการไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
2. เสริมเสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุมคามที่มีผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
3. สร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นแฟนกับประเทศต่างๆ ในโลกให้อาเซียนมีบทบาทในภูมิภาค
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community – AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวโดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1.อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นสวน คอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
2. ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบร่วมกันในอาเซียน
3. การพัฒนาเป็นศูนย์การการผลิตของอาเซียนในสาขาที่ประเทศไทยมีความถนัด
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่
* ไทย : ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
ฟิลิปปินส ์: อิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ

4.อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
ที่มา: www.9ddn.com/content.php?pid=592
          th4.ilovetranslation.com/rz4f_ge2k7l=d/
        http://www.trang.psu.ac.th/asean/?p=254

         - ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
       อาเซียน ตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
        ค.ศ2020
     
               2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศไทย, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, กัมพูชา, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, เมียนมาร์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะก้าวเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม 
โดยมีเป้า หมายร่วมกัน ว่าการเปิดประตูสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) จะส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีฐานการผลิตรวมกัน มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยทางการผลิตอย่างเสรี เกิดความเป็นปึกแผ่น และสร้างอำนาจต่อรองทางด้านการค้า/เศรษฐกิจ ในเวทีการค้าโลกได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

                 สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากนับเวลาต่อจากนี้แล้วเหลือเวลาอีกเพียง 3 ปีเท่านั้น นับว่าไม่นานเลย และเมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยจะก้าวไปสู้กับเพื่อนบ้านในอาเซียนได้อย่างไร เป็นคำถามที่อยู่ในใจหลายคน

                ในภาครัฐบาลเองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจใน เชิงรุกยังครึ่ง ๆ กลางๆ ไม่ชัดเจน ดังนั้นหากไทยเราจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คนไทยทุกคนควรจะต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะการเข้าสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลไปทั่วทุกภาคส่วนของประเทศ และก่อให้เกิดพันธกรณีแก่ประเทศไทยที่จะต้องเข้าร่วมเจรจากับสมาชิกอาเซียน เพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการ รวมทั้งการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเปิดเสรีการค้าบริการอาเซียน โดยมีเป้าหมาย หรือหลักเกณฑ์การเปิดตลาดอยู่ที่ “การลด” หรือ “เลิกกฎระเบียบ” หรือมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและการลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเปิดตลาดใน 10 สาขาบริการหลัก อาทิ บริการด้านธุรกิจ บริการวิชาชีพ บริการด้านสื่อสาร บริการโทรคมนาคม บริการด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนนำเที่ยว

5.ASEANย่อมาจากอะไร
ที่มา: http://www.xn--12c0ecxsex2q.com/asean-
         https://pranlovedad.wordpress.com/
         http://www.xn--12c0ecxsex2q.net/asean.html
ASEAN ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา
             2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย
           7. ลาว
           8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม
           10. อินโดนีเซีย
ASEAN   ย่อมาจาก   Association of South East Asian Nations
หมายถึง                :  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                                ASEAN (อาเซียน) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN  Declaration) โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติมได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด  10  ประเทศ

6.คำขวัญอาเซียนมีอย่างไร
 ที่มา: www.เกร็ดความรู้.nat/คำขวัญอาเซียน/
         http://thai-asean.exteen.com/20150215/entry-3
         http://aseancorner.blogspot.com/2011/11/asean-motto.html
        

คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หรือ One Vision, One Identity, One Community
คำขวัญอาเซียน
คำขวัญอาเซียน
ความหมายอันลึกซึ่งของคำขวัญอาเซียน บ่งบอกไส้อย่างชัดเจนถึงการหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ทั้งวิสัยทัศน์ของกลุ่มอาเซียน เอกลักษณ์ รวมถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของม
 “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”

คำขวัญอาเซียนเปรียบเสมือนตัวแทนภาพรวมของประชาคมอาเซียน ที่แตกต่าง หลากหลาย รวมเป็น
หนึ่งเดียวกันการรวมกลุ่มกันได้ของอาเซียนจึงเป็นที่น่าจับตาของชาวโลกในการต่อรองอำนาจกับ
มหาอำนาจใหญ่ๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในการ เป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนเพื่อสนับสนุนซึ่งกัน
และกัน รวมถึงการแข่งขันการปรับตัวของสมาชิก เพื่อไปต่อสู้ฝ่าฟันกันภายนอกกลุ่มนั่นเอง
เป็นการบอกถึงการร่วมมือกันในทุกๆด้านๆของชาวอาเซียนวลหมูสมาชิกอาเซียนทั้งหลาย
The motto of ASEAN is


“ One Vision, One Identity, One Community.”

    คำขวัญอาเซียน      

หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์ 
 หนึ่งประชาคม